ITO Thailand Hygiene Blog
5 ไอเดียการใช้นวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมอาหารที่ยั่งยืน
5 ไอเดียการใช้นวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมอาหารที่ยั่งยืน
อัพเดทไอเดียใหม่ ๆ ในการพัฒนาองค์กรเพื่อตอบรับเทรนด์ความยั่งยืน (Sustainability) ด้วยผลิตภัณฑ์จากอิโตะ (ไทยแลนด์) ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้กับที่ทำงานของคุณ
1.โปรเจคเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน
อุตสาหกรรมและโรงงานมีการบริโภคพลังงานในปริมาณมาก รวมถึงการปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม การเริ่มโปรเจคที่มีเป้าหมายในการประหยัดพลังงาน นอกจากจะตอบโจทย์เทรนด์ความยั่งยืนและให้ภาพลักษณ์ที่ดีแล้ว ยังช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในระยะยาว รวมไปถึงสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยรวมได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น การใช้ประตูเปิดปิดความเร็วสูง จากบริษัท อิโตะ (ไทยแลนด์) ที่มีระบบเซนเซอร์เปิดปิดอัตโนมัติ และเปิดปิดได้ด้วยความเร็วสูงสุด 3.2 เมตร/วินาที สามารถช่วยรักษาพลังงานของห้องควบคุมอุณหภูมิ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห้องเย็น และห้องที่มีอุณหภูมิติดลบ (รองรับอุณหภูมิต่ำที่สุด -25 องศาเซลเซียส) ทำให้สามารถรักษาอุณหภูมิได้ดี และมีระบบ Airtight seals ป้องกันปัญหารอยรั่วของอากาศ ที่ทั้งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และปัญหาการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทำให้สภาวะในการผลิตและเก็บรักษาผลิตภัณฑ์มีความสม่ำเสมอของอุณหภูมิมากขึ้น เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนไหวต่ออุณหภูมิ เช่น การควบคุมผลึกน้ำแข็ง การยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ด้วยอุณหภูมิต่ำ หรือการรักษาสารฟังก์ชันที่ไวต่อการสลายตัวเนื่องจากความร้อน นอกจากนี้ ประตูอัตโนมัติยังสามารถลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากพนักงาน เช่น การเปิดประตูทิ้งไว้เนื่องจากน้ำหนักของประตูฉนวน หรือเพื่อความสะดวก และการสัมผัสบริเวณประตูที่นำไปสู่การปนเปื้อนอีกด้วย
2. การลดขยะ และคาร์บอนฟุตพรินท์
ปัญหาขยะจากอุตสาหกรรมอาหาร นอกจากเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนแล้ว ยังมีเรื่องค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ และคาร์บอนฟุตพรินท์ในการขนส่งและการกำจัดขยะอีกด้วย การเปลี่ยนอุปกรณ์ใช้แล้วทิ้งมาเป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้ซ้ำได้ เป็นโปรเจคที่สามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ และเห็นผลได้ชัดเจน ตัวอย่างเช่นการเปลี่ยนลูกกลิ้งกาวดักฝุ่นบนตัวพนักงาน และแผ่นดักฝุ่นชนิดลอกทิ้ง มาเป็นเจลยูริเทนที่สามารถทำหน้าที่เดียวกันในการดักฝุ่นได้ แต่สามารถนำมาล้างและใช้ซ้ำได้แทนการลอกทิ้งเป็นขยะ จึงทั้งสามารถช่วยลดปริมาณขยะสะสมในเวลา 2 ปี ได้สูงถึง 91-99% (ตามสภาวะในการเปรียบเทียบที่นี่) รวมถึงมีความคุ้มค่าด้านค่าใช้จ่ายในเวลาไม่นานและลดกระบวนการด้านการจัดซื้อและเก็บสต็อกอุปกรณ์อีกด้วย
3. ลดการกำจัดผลิตภัณฑ์ของเสีย
ปัญหาความผิดพลาดในกระบวนการผลิตนำมาซึ่งทั้งความเสียหายด้านค่าใช้จ่าย รวมไปถึงปริมาณขยะของเสียที่ต้องมากขึ้นในการกำจัดอีกด้วย ดังนั้น โปรเจคเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน จึงเกี่ยวข้องกับความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ตัวอย่างการแก้ไขปัญหาด้านการผลิตนี้อาจเป็นการนำระบบอัตโนมัติหรือระบบหุ่นยนต์เข้ามาช่วย เช่น ในการควบคุมคุณภาพการผลิต, ช่วยในการตรวจสอบ (inspection), เพิ่มความเร็วและความแม่นยำในการผลิต, เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานและการใช้วัตถุดิบให้มีส่วนเหลือทิ้ง (waste) น้อยลง รวมไปถึงลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนจากมนุษย์และปัญหาความผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจ ที่ทำให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยในการผลิตอาหารและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์อาหาร
4. ลดการใช้สารเคมี
ในกระบวนการผลิตอาหารมักมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาการกำจัดสารเคมีที่ปลายทางในการผลิต ทั้งในส่วนของขยะ น้ำเสีย หรืออากาศเสีย ดังนั้น หากสามารถลดการใช้สารเคมี โดยที่ยังคงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต เช่น การทำความสะอาด การฆ่าเชื้อ หรือการรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ จะทำให้กระบวนการผลิตมีความยั่งยืนมากขึ้น หรือแม้แต่สามารถเพิ่มช่องทางการขายผลิตภัณฑ์ในฐานะอาหารปลอดสารเคมี หรือลดการใช้สารเคมีได้อีกด้วย ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากอิโตะ (ไทยแลนด์) ที่เกี่ยวข้องกับโปรเจคกลุ่มนี้ คือการใช้ Ultrafine bubble generator หรือเครื่องกำเนิดฟองขนาดเล็กระดับไมโคร-นาโน ที่ใช้หลักการของแรงดันน้ำ ทำให้สามารถกำเนิดฟองได้โดยไม่ต้องใช้ระบบไฟฟ้า โดยฟองที่เกิดขึ้น มีประสิทธิภาพในการแทรกซึมเข้าสู่ซอกมุมเล็ก ๆ และช่วยเข้าทำความสะอาดได้ดีมากขึ้น (อ่านเพิ่มเติม) โดยในการทดสอบล้างยาฆ่าแมลงจากเปลือกผลไม้ในห้องปฏิบัติการ พบว่าสามารถล้างสาร Carbosulfan ได้มากกว่าการใช้น้ำธรรมดาประมาณ 3 เท่า และจากการทดสอบติดตั้งในระบบท่อระบายน้ำ พบว่าสามารถลดการสะสมของตะกรันในท่อในระยะยาวได้ จึงเป็นหนึ่งในโซลูชั่นที่น่าสนใจในการใช้ทำความสะอาดพื้นผิวต่าง ๆ
นอกจากการใช้ Ultrafine bubbles ในการทำความสะอาดพื้นผิวแล้ว ยังสามารถใช้ในแอพพลิเคชันอื่น ๆ เช่น ช่วยในการบำบัดน้ำเสียโดยการเติมอากาศในรูปแบบฟองเล็ก ๆ ให้กับสิ่งมีชีวิตในน้ำ หรือประยุกต์ใช้กับระบบอื่น ๆ เช่น การเติมแก๊สโอโซน การใช้ฟองนาโนช่วยในการกระจายสารเคมี เพื่อลดปริมาณสารเคมีที่ต้องใช้ เป็นต้น
5. เชื้อเพลิงในการขนส่ง
เชื้อเพลิงที่ใช้ในการขนส่งวัตถุดิบ นับเป็นอีกสาเหตุหลักในการเพิ่มคาร์บอนฟุตพริ้นท์ให้กับโรงงาน ดังนั้น การเปลี่ยนรูปแบบจากการสั่งซื้อวัตถุดิบมาเป็นการผลิตเองภายในโรงงาน จะสามารถลดปริมาณเชื้อเพลิงในส่วนนี้ได้ รวมไปถึงปัญหาการจัดซื้อ การจัดการสต็อกและการดีลกับผู้ผลิตอีกด้วย โดยทางบริษัทอิโตะ (ไทยแลนด์) เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องผลิตไนโตรเจนในรูปแบบแก๊สและของเหลวด้วยระบบไฟฟ้า เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร การเกษตร และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ทำให้สามารถลดการขนส่งไนโตรเจนได้เป็นอย่างดี
Related Post
-
5 เทคนิคการจัดทำโปรเจคหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในระบบอุตสาหกรรมอาหาร
เรียนรู้ 5 เทคนิคการจัดทำโปรเจคหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในระบบอุตสาหกรรมอาหาร เพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน สร้างผลตอบแทนจากการลงทุนที่คุ้มค่า พร้อมคำแนะนำในการเลือกหุ่นยนต์ที่เหมาะสม และการบำรุงรักษาให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
-
ระบบสายพานอัตโนมัติในอุตสาหกรรมอาหาร
ทำความรู้จักความสำคัญของสายพานในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร ที่นับว่ามีความสำคัญมาก ๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
-
D-quick นวัตกรรมใหม่ ตัวช่วยเพื่อความยั่งยืน
หากคุณมีความสนใจด้านการลดขยะเพื่อความยั่งยืน เช่นการเปลี่ยนลูกกลิ้งเป็นแบบล้างน้ำใช้ซ้ำ แต่ติดปัญหาเรื่องเวลาที่ใช้ในการล้างทำความสะอาด โปรดอ่านบล็อกนี้ เรามีตัวช่วยสำหรับคุณ
-
ปฏิวัติวงการอุตสาหกรรมอาหารด้วยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
ปฏิวัติวงการอุตสาหกรรมอาหารด้วยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ตอน หุ่นยนต์ท้ายไลน์ผลิต
-
ปฏิวัติวงการอุตสาหกรรมอาหารด้วยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
ปฏิวัติวงการอุตสาหกรรมอาหารด้วยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ตอน หุ่นยนต์หยิบอาหารในกระบวนการผลิต
-
ยกระดับอุตสาหกรรมอาหารด้วยแปรงทำความสะอาดมาตรฐานสูง
แปรงทำความสะอาด ที่เหมือนจะเป็นส่วนเล็ก ๆ อาจส่งผลต่อมาตรฐานของอาหารมากกว่าที่คุณคิด