ITO Thailand Hygiene Blog

Apr 04 2022

ประตูความเร็วสูง: ปกป้องการปนเปื้อนด้วยเทคโนโลยี

            ลักษณะของประตูทางเข้าที่เหมาะสมสำหรับประตูที่เชื่อมต่อกับภายนอก จะต้องสามารถป้องกันสัตว์ฟันแทะได้ (มีช่องว่างน้อยกว่า 6 มิลลิเมตร)] และควรมีระบบปิดเอง (Self-closing) จะดีที่สุด แต่ในกรณีที่ไม่สามารถทำได้ ก็อาจมีการใช้วิธีการอื่น ๆ เข้ามาช่วย เช่น การติดตั้งม่านลม หรือ ม่านริ้ว (strip curtain) บริเวณประตูเพื่อช่วยลดความเสี่ยงการปนเปื้อน อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์เหล่านี้ก็มีข้อจำกัดในการป้องกันการปนเปื้อน ตัวอย่างเช่นม่านริ้ว มักมีปัญหาการถูกเปิดค้างไว้เป็นเวลานาน เนื่องจากความสะดวกของพนักงาน หรือการเสียภาพจากการใช้งาน ทำให้มีช่องโหว่สำหรับการปนเปื้อน ในกรณีที่ไม่ได้ใช้งานเข้าออก ประตูควรต้องปิดอยู่เสมอ และในกรณีที่มีการใช้งานบ่อย ควรต้องเป็นประตูที่สามารถปิดเปิดรวดเร็วเพื่อลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนจากภายนอก [1]

            สำหรับประตูความเร็วสูง Monban ของบริษัทอิโตะไทยแลนด์ นอกจากจะเป็นประตูเปิดปิดด้วยความเร็วสูงได้สูงสุดถึง 3.2 เมตร/วินาที เนื่องจากใช้มอเตอร์ที่ทำการออกแบบมาโดยเฉพาะ ทำให้ลดระยะเวลาที่บรรยากาศภายในอาคารหรือห้อง สัมผัสกับสภาพแวดล้อมภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการปิดที่แนบสนิททั้งด้านข้างและด้านล่าง ทำให้สามารถป้องกันการปนเปื้อนได้ดี นอกจากนี้ ตัวผลิตภัณฑ์ยังมีอีกหลายฟังก์ชันเพิ่มเติม ที่ผู้ประกอบการสามารถเลือกติดตั้งร่วมกับตัวประตูความเร็วสูง เพื่อให้สามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมได้ดีมากขึ้น ดังนี้

ระบบโครงสร้าง Air tight

            ด้วยระบบโครงสร้างพิเศษ Air tight ที่ทนต่อระดับความต่างของความกดอากาศ แรงลม และแรงดัน โดยผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน JIS A 1516 (Windows and doorsets — Air permeability test) ของสมาคมมาตรฐานญี่ปุ่น (Japanese Standards Association: JSA) โดยเมื่อความดันอากาศแตกต่างกันไม่เกิน 10 Pa โครงสร้างจะสามารถทนแรงดันบวกได้สูงสุด 5.76  ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง*ตารางเมตร และทนแรงดันลบได้สูงสุด 8.35  ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง*ตารางเมตร เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่ต้องการความสะอาดสูงสุด เช่น ห้องปลอดเชื้อ ห้องความเสี่ยงสูง เป็นต้น

สีป้องกันแมลง Magic Optron

            สีผ้าใบป้องกันแมลงลิขสิทธิ์เฉพาะของ Monban จากความร่วมมือระหว่าง บริษัท KOMATSU ELECTRIC INDUSTRY CO.,LTD., บริษัท TAISEI FINE CHEMICAL CO., LTD. และ IKARI SHODOKU CO.,LTD. และผ่านการวิจัยและทดลองภายในญี่ปุ่น และพบว่ามีประสิทธิภาพสำหรับแมลงกลุ่มที่ไวต่อแสง เช่น แมลงกลุ่มเพลี้ยกระโดด ( Planthopper) , เพลี้ยจั้กจั่น (Leafhopper), ผีเสื้อกลางคืน (Moth), แมลงวันแมงมุม (Crane fly), และ ริ้นน้ำจืด (Chironomid) เป็นต้น โดยใช้หลักการปฏิกิริยาของแมลงต่อความยาวคลื่นแสงในการควบคุมแมลง โดยกำหนดให้ภายนอกเป็นสีที่สามารถตัดคลื่นแสงที่แมลงมองเห็น ทำให้ไม่ดึงดูดแมลงเข้ามา ส่วนผ้าใบภายในเป็นช่วงสีที่แมลงบินเข้าหา ทำให้ลดโอกาสที่แมลงจะบินเข้ามาภายในอาคาร และในกรณีที่แมลงเล็ดรอดหรือปะปนมากับตัวพาอื่น ๆ (เช่น มนุษย์ กล่องวัตถุดิบ ฯลฯ) แมลงจะถูกดึงดูดไปบริเวณประตู ไม่บินลึกเข้าไปในอาคาร และออกจากอาคารได้ง่ายเมื่อประตูเปิดออก โดยจากการทดลอง พบว่าสามารถป้องกันแมลงกลุ่มดังกล่าวได้ 80.7% ซึ่งเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีในการลดปัญหาการปนเปื้อนจากแมลง โดยไม่ใช้สารเคมี

ระบบเซนเซอร์ลดการสัมผัส

            บริเวณเปิดปิดประตู เป็นหนึ่งในจุดที่มีการสัมผัสมากที่สุดและมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรคและสิ่งไม่พึงประสงค์สู่มือพนักงาน การใช้เซนเซอร์อัตโนมัติ สามารถช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้ อีกทั้งช่วยประหยัดเวลาในขั้นตอนการเปิดปิด เช่น ในกรณีที่พนักงานขับรถโฟล์คลิฟต์ ขนส่งสินค้า พนักงานสามารถขับเข้ามาบริเวณเซนเซอร์ และประตูสามารถเปิดอัตโนมัติได้โดยพนักงานไม่จำเป็นต้องลงจากรถ โดยระบบเซนเซอร์ของ Monban เป็นระบบรังสีอินฟาเรด รองรับได้ทั้งช่องประตูขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ โดยมีจำนวน Sensor spot ตั้งแต่ 4-60 จุด รวมถึงเซนเซอร์ที่ช่วยการันตีความปลอดภัยในการปิดประตูอัตโนมัติด้วย ว่าจะปิดประตูเมื่อไม่มีสิ่งกีดขวางอยู่ใต้ประตู เพื่อป้องกันอุบัติเหตุการปิดประตูใส่ตัวพนักงาน ส่งเสริมทั้งประสิทธิภาพในการให้ความปลอดภัย ทั้งต่อผลิตภัณฑ์อาหาร และพื้นที่ในการทำงานของพนักงาน นอกจากนี้ยังสามารถทำเป็นระบบอินทริเกรชัน (Integrating system) ร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ เช่น บังคับให้มีการวัดอุณหภูมิหรือใช้เจลแอลกอฮอล์ก่อนเปิดประตูได้ เพื่อเพิ่มมาตรฐานด้านความสะอาดในการเข้าสู่พื้นที่

การฆ่าเชื้อด้วยระบบ UV-C

            เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดล่าสุด ทางบริษัทได้พัฒนาฟังก์ชันใหม่สำหรับติดร่วมกับประตูความเร็วสูง คือการติดตั้งระบบฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และไวรัสด้วยแสง UV-C โดยใช้หลักการดึงอากาศเข้าไปฆ่าเชื้อโรคด้วยโคม UV-C ที่ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร ภายในกล่องเหนือประตูทางเข้า เพื่อปกป้องไม่ให้รังสี UV-C ส่งผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานที่เดินเข้าออกประตู และปล่อยอากาศสะอาดออกมาหลังจากผ่านขั้นตอนการฆ่าเชื้อแล้ว โดยจากผลการทดลองในห้องปฏิบัติการประเทศเกาหลี รายงานว่าสามารถลดเชื้อแบคทีเรียในอากาศได้ 58.2% ใน 1 ชั่วโมง และละอองไวรัสในอากาศได้ 41.8% ใน 30 นาที (ภายใต้การทดลองในห้องปิด 60 ตารางเมตร)

การปกป้องการปนเปื้อนสู่ห้องเย็น

            ประตูห้องเย็นมักเป็นประตูไอโซวอลล์และซ้อนทับด้วยม่านริ้ว แต่เนื่องจากประตูไอโซวอลล์มักมีน้ำหนักมาก และม่านริ้วเกะกะพนักงานขณะเข้าออก ทำให้ในบางครั้ง พนักงานมีความประมาทในการเปิดปิดห้องเย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องเย็นที่มีการเข้าออกบ่อย อาจใช้การเปิดประตูค้าง และรวบม่านริ้วเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าออก ส่งผลให้มีการปนเปื้อนเข้าสู่ห้องเย็นได้มาก และสูญเสียอุณหภูมิ เพื่อแก้ปัญหานี้ การใช้ประตู Monban ชนิดที่ออกแบบเฉพาะสำหรับห้องเย็น สามารถทดแทนการใช้ม่านริ้ว ปิดแนบสนิทปกป้องการปนเปื้อนได้มากกว่า ด้วยวัสดุพิเศษที่ทนความเย็นได้สูงสุด -25 องศาเซลเซียส มาพร้อมกับระบบมอเตอร์ที่มีตัวทำความร้อนในตัว และระบบป้องกันการเกิดน้ำแข็งเกาะบริเวณประตู ที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการเปิดปิดประตูในระยะยาว

            อิโตะขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนสังคมอาหารปลอดภัยในประเทศไทย เพื่อให้อุตสาหกรรมอาหารไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืน

คลิกที่นี่ เพื่อรู้จักเราเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

1.Holah, J. T. (2014). Hygienic factory design for food processing. In Hygiene in Food Processing(pp. 53-90). Woodhead Publishing.

Related Post