ITO Thailand Hygiene Blog
ไนโตรเจนเหลวในอุตสาหกรรมอาหาร
อาจจะเคยได้ยินว่าไนโตรเจนเหลวทำให้อาหารเย็นจนแข็งตัวได้อย่างรวดเร็วใช่หรือไม่? แล้วมันมีข้อดียังไง มีประโยชน์อย่างไรบ้าง? มาทำความรู้จักไนโตรเจนเหลวในอุตสาหกรรมอาหารไปกับอิโตะ (ไทยแลนด์) กันเถอะ
ไนโตรเจนเหลวคืออะไร?
ไนโตรเจน คือแก๊สที่ปกติมีอยู่ในอากาศทั่วไปสูงถึงประมาณ 78% เมื่อเทียบกับไอน้ำที่จะควบแน่นเป็นของเหลวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียสแล้วนั้น แก๊สไนโตรเจนจะเปลี่ยนเป็นของเหลวที่อุณหภูมิต่ำมาก ๆ ประมาณ -195.8 องศาเซลเซียส ดังนั้นแสดงว่า ไนโตรเจนที่อยู่ในรูปของเหลว จะต้องมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือด นอกจากนี้ ในการเปลี่ยนแปลงสถานะจากของเหลวกลับไปเป็นแก๊สไนโตรเจน ยังมีการดูดความร้อนเพื่อเปลี่ยนแปลงสถานะอีกด้วย (Latent Heat of vaporization ของไนโตรเจน เท่ากับ 198.3 kJ/kg) ทำให้เมื่อวัตถุอื่น ๆ สัมผัสกับไนโตรเจนเหลวที่มีอุณหภูมิเย็นระดับติดลบมาก ๆ และถูกดูดความร้อนไปเพื่อเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊สไนโตรเจนด้วย วัตถุนั้นจึงมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ทำให้วัตถุถูกแช่แข็งได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง
จุดเด่นและข้อควรระวัง
ข้อดีของไนโตรเจนเหลวคือสามารถลดอุณหภูมิได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าทำให้ใช้เวลาในกระบวนการแช่แข็งน้อย แต่จุดสำคัญที่ตามมาคือ เมื่อวัตถุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์สิ่งมีชีวิตหรือโครงสร้างน้ำในอาหาร เปลี่ยนสถานะเป็นน้ำแข็งอย่างรวดเร็ว จะทำให้ผลึกน้ำแข็งที่เกิดขึ้นมีจำนวนมากและมีขนาดเล็ก ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือทำลายเซลล์ได้น้อยกว่าผลึกน้ำแข็งขนาดใหญ่ ที่อาจทิ่มแทงเซลล์หรือโครงสร้างต่าง ๆ ให้ฉีกขาดหรือผิดรูปได้ ดังที่จะสังเกตได้ว่า อาหารแช่แข็งจากโรงงานอุตสาหกรรม มักสามารถทำละลายออกมาได้คุณภาพดีกว่าการทำละลายอาหารแช่แข็งจากตู้แช่แข็งระดับครัวเรือน รวมถึงสามารถรักษาคุณภาพของเซลล์สิ่งมีชีวิตให้อยู่ในสภาพที่ดีได้อีกด้วย
สำหรับข้อควรระวังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ปฏิบัติงาน ที่สัมผัสกับไนโตรเจนเหลว อาจเกิดปัญหาสุขภาพอย่างเฉียบพลันได้ด้วยอาการภาวะผิวหนังถูกทำลายจากความเย็นจัด (frostbite) หรือภาวะตัวเย็น (hypothermia) หากไม่ได้มีความระมัดระวังหรือสวมอุปกรณ์ป้องกันที่ถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ พื้นที่ปฏิบัติงานยังต้องมีการคำนึงถึงการหมุนเวียนอากาศที่เหมาะสมเพื่อรับมือกับปริมาตรของแก๊สไนโตรเจนที่เปลี่ยนสถานะเป็นไอ รวมถึงสภาวะขาดออกซิเจนเนื่องจากความหนาแน่นของแก๊สไนโตรเจนด้วย ในส่วนของอาหารนั้น ในกรณีที่แช่แข็งอาหารที่มีลักษณะเหลวหรือข้นหนืดที่รับประทานทันที เช่น ไอศกรีม ต้องมีความระมัดระวังเนื่องจากอาจหลงเหลือฟองแก๊สในโตรเจนของอาหารที่มีอุณหภูมิต่ำอาจเป็นอันตรายกับช่องปากได้ รวมไปถึง อาหารแช่แข็งด้วยไนโตรเจน สามารถหยุดการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ได้ แต่เมื่ออาหารนั้นมีการทำละลายก็มีโอกาสที่จุลินทรีย์จะเติบโตอีกครั้ง
ตัวอย่างการใช้งานไนโตรเจนเหลวในอุตสาหกรรมอาหาร
•การปศุสัตว์และการผลิตวัตถุดิบ เช่น การเก็บรักษาน้ำเชื้อและไข่ของสัตว์พ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ สำหรับการปรับปรุงพันธุ์สัตว์หรือการผสมเทียม ยาและวัคซีนสำหรับสัตว์ เป็นต้น
•กระบวนการผลิตอาหารแช่แข็ง เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพของอาหาร เนื่องจากเมื่อน้ำในอาหารเปลี่ยนเป็นน้ำแข็ง ปฏิกิริยาทางเคมีและเอนไซม์ในอาหารจะเกิดได้ช้าลงมาก ทำให้สามารถรักษาความสดใหม่ของอาหารไว้ได้ดี
•กระบวนการเก็บรักษาสารฟังก์ชันที่ไวต่ออุณหภูมิ ด้วยการเอนแคปซูเลชันด้วยกระบวนการฟรีสดราย, กระบวนการ spray cooling เช่น จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ สารสกัดจากจุลินทรีย์ สารสกัดจากพืช เป็นต้น
•กระบวนการทำแห้งแบบฟรีสดราย มักนิยมลดอุณหภูมิของวัตถุด้วยไนโตรเจนเหลวก่อนนำไประเหิดน้ำที่ความดันต่ำกว่าบรรยากาศ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถยังคงคุณภาพที่ดี
•ในกลุ่มงานคหกรรม เช่น การทำไอศกรีมจากไนโตรเจนเหลว หรืองานกลุ่มอาหารโมเลกุล (Molecular Gastronomy)
•งานวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มักใช้เพื่อต้องการเก็บตัวอย่างอาหาร วัตถุ เชื้อจุลินทรีย์ หรือสารเคมีเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด ก่อนการตรวจวิเคราะห์ต่อไป
นวัตกรรมการผลิตไนโตรเจนเหลว
โดยทั่วไปในอุตสาหกรรมอาหาร มักใช้การสั่งซื้อไนโตรเจนเหลวจากบริษัทผลิตโดยเฉพาะ ซึ่งอาจประสบปัญหาด้านการจัดการสต็อกปริมาณไนโตรเจน ความเสี่ยงในการขนส่งบรรจุภัณฑ์ทนแรงดัน รวมไปถึงปัญหาคาร์บอนฟุตพรินท์ในการขนส่งไนโตรเจนเหลวที่สิ้นเปลืองพลังงานเชื้อเพลิง
บริษัท อิโตะ (ไทยแลนด์) ขอนำเสนอนวัตกรรมจากประเทศญี่ปุ่นในการผลิตไนโตรเจนเหลวสำหรับภาคอุตสาหกรรมและงานวิจัย ทำให้องค์กรของท่านสามารถผลิตไนโตรเจนเหลวได้อย่างสม่ำเสมอและลดความเสี่ยงและความผิดพลาดจากการขนส่ง โดยสามารถผลิตไนโตรเจนได้ที่ความบริสุทธิ์ 99% ด้วยพลังงานไฟฟ้า หากท่านมีความสนใจในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว สามารถติดต่อเรา เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทันที
Related Post
-
5 ไอเดียการใช้นวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมอาหารที่ยั่งยืน
อัพเดทไอเดียใหม่ ๆ ในการพัฒนาองค์กรเพื่อตอบรับเทรนด์ความยั่งยืน (Sustainability) ด้วยผลิตภัณฑ์จากอิโตะ (ไทยแลนด์) ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้กับที่ทำงานของคุณ
-
เทคโนโลยีฟองแก๊สระดับอนุภาค Ultrafine bubble (UFB) technology (Part 2)
จากคอนเทนท์ก่อนหน้านี้ ได้เล่าถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีฟองแก๊สระดับอนุภาคในส่วนของการทำการเกษตร ปศุสัตว์และการประมง การทำความสะอาดวัตถุดิบไปจนถึงพื้นผิวต่าง ๆ กันไปแล้ว ในวันนี้เราจะมาเรียนรู้กันต่อในส่วนของการใช้เทคโนโลยีฟองแก๊สระดับอนุภาคในกระบวนการผลิตอาหารและการจัดการกับของเสียจากอุตสาหกรรมอาหาร รวมถึงวิธีในการสร้างฟองแก๊สขนาดเล็กเหล่านี้
-
เทคโนโลยีฟองแก๊สระดับอนุภาค Ultrafine bubble (UFB) technology (Part 1)
ฟองอากาศธรรมดาๆ เมื่อเปลี่ยนให้มีขนาดเล็กระดับไมโคร-นาโน กลับสามารถทำอะไรได้มากกว่าที่คุณคิด มาเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีของฟองอากาศขนาดจิ๋ว ๆ เหล่านี้และการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกับอิโตะ (ไทยแลนด์) กันเถอะ
-
5 เทคโนโลยีในการจัดการคุณภาพอาหารแช่แข็ง
การแช่เยือกแข็งเป็นการถนอมอาหารวิธีหนึ่ง นิยมใช้ในอาหารที่มีการเสื่อมเสียรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น อาหารสดพร้อมปรุง อาหารพร้อมรับประทาน หรืออาหารที่คุณค่าทางโภชนาการมีการสลายตัวได้ง่าย หรือมีสารที่ไวต่ออุณหภูมิ แสง ออกซิเจน เป็นต้น โดยใช้หลักการทำให้น้ำภายในผลิตภัณฑ์กลายเป็นของแข็งอย่างรวดเร็ว ทำให้โมเลกุลของสารไม่สามารถเข้าทำปฏิกิริยากันได้ อาหารจึงมีอายุที่นานขึ้น นอกจากนี้ยังยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์และช่วยฆ่าปรสิตได้อีกด้วย เช่น USFDA แนะนำให้มีการควบคุมปรสิตในปลารับประทานดิบ เช่น สำหรับซูชิ ซาชิมิ โดยแช่แข็งปลาที่อย่างน้อย -20 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 7 วัน หรือเก็บที่ -35 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 15 ชั่วโมง เพื่อควบคุมปรสิตกลุ่มพยาธิในปลา (สภาวะอาจขึ้นกับขนาดของปลาด้วย)
-
ใส่ใจสุขลักษณะรองเท้า เพื่อสุขลักษณะที่ดีในอุตสาหกรรมอาหาร
4 ความเสี่ยงที่รองเท้านำมาสู่โรงงานอาหารของคุณ
-
นวัตกรรมลดการปนเปื้อนในสายการผลิต
เป็นที่ทราบกันดีว่า สิ่งสกปรกจากภายนอกเป็นที่มาของความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอาหาร โดยหนึ่งในช่องทางของการปนเปื้อน คือ การที่มนุษย์เป็นพาหะในการนำฝุ่นและสิ่งสกปรกเข้าสู่ส่วนผลิตหรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ทำให้สิ่งสกปรก เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอม อาจถูกปนเปื้อนไปในอาหารและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค