What’s News

Nov 28 2022

AIFST22 – การประชุมใหญ่สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารแห่งออสเตรเลีย (AIFST) ประจำปี 2565

            การประชุมใหญ่สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารแห่งออสเตรเลีย (AIFST) ประจำปี 2565 ถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23-24 สิงหาคม พ.ศ. 2565 โดยในปีนี้มุ่งเน้นเกี่ยวกับการสร้างอนาคตผ่านความร่วมมือและนวัตกรรม มีการจัดแสดงวิธีแก้ปัญหาด้านอาหาร (ตัวอย่าง การทดสอบอาหาร การให้บริการเกี่ยวกับการสัมผัสและการรับรู้และการวิจัย ฯลฯ) นอกจากนี้ จะมีการอภิปรายหัวข้อสำคัญ 5 หัวข้อในการประชุมใหญ่โดยมีบทสรุปย่อและตัวอย่าง ได้แก่:

            ♦นวัตกรรมด้านความปลอดภัยทางอาหาร – สิ่งสำคัญคือต้องยกระดับความปลอดภัยทางอาหารและป้องกันความเจ็บป่วยด้วยนวัตกรรม เช่น การแก้ไขยีนด้วยเทคโนโลยี CRISPR  เทคโนโลยีการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ แบบบูรณาการและปัญญาประดิษฐ์ , การวัดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ ฯลฯ อาหารที่ปลอดภัยและบำรุงร่างกายเป็นส่วนหนึ่งของการมีสุขภาพที่ดี ในขณะที่องค์การอนามัยโลกได้รายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 420,000 รายทุกปีจากความเจ็บป่วยที่เกิดจากอาหาร (7) ซึ่งจำเป็นต้องทำให้ลดลงด้วยการจัดการสุขอนามัยที่เหมาะสมและการนำเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมมาใช้

            ♦ผู้บริโภคและวิทยาศาสตร์การสัมผัสและการรับรู้– ผู้บริโภคมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมอาหาร และผู้ผลิตอาหารจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคให้ครอบคลุมตลอดจนแนวโน้มด้านโภชนาการในอนาคต วิทยาศาสตร์การสัมผัสและการรับรู้คือการใช้ประสาทสัมผัสของมนุษย์ เช่น การมองเห็น ได้กลิ่น รับรส การสัมผัส และการได้ยิน (4) และประสาทสัมผัสเหล่านี้มีส่วนช่วยในการวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ๆ ที่สามารถบรรลุอัตราการยอมรับของผู้บริโภคที่สูงขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ประสบความสำเร็จ

            ♦นวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์ – ตั้งแต่เทคโนโลยีอย่างบรรจุภัณฑ์ฉลาดไปจนถึงบรรจุภัณฑ์แอคทีฟที่มุ่งไปสู่บรรจุภัณฑ์อาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนยิ่งขึ้นได้รับความตระหนักจากทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภค บรรจุภัณฑ์ฉลาดที่แพร่หลายที่สุดคือบรรจุภัณฑ์ที่มีฉลากอัจฉริยะบ่งชี้ความสดใหม่ที่สามารถตัดสินคุณภาพของอาหารได้ โดยมีการนำมาใช้มากมายขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ เช่น อุปกรณ์รับรู้ก๊าซเอทธิลีนเพื่อตรวจสอบความสุกของผลไม้ อุปกรณ์ตรวจจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อระบุความสดของผลิตภัณฑ์อาหารเนื่องจากเป็นผลิตผลของกระบวนการเมตาบอลิซึมที่สำคัญของจุลินทรีย์ที่ทําให้อาหารเน่าเสีย (5) หรืออุปกรณ์วัดอุณหภูมิเพื่อติดตามและหาร่องรอยว่าสภาพการเก็บรักษาเป็นที่ยอมรับได้หรือไม่หรือแม้กระทั่งแจ้งให้ผู้บริโภคทราบถึงอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดในการเสิร์ฟไวน์

            ♦นวัตกรรมด้านสุขภาพและโภชนาการ – ดังที่ได้กล่าวไว้ในบล็อกที่แล้ว  ความตระหนักในชีวิตที่มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้เพิ่มขึ้นในยุคหลังการระบาดไปทั่วโลก และหนึ่งในนวัตกรรมที่โดดเด่นคือโพสไบโอติก เพราะสามารถปรับภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและเหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์หลายอย่างและระหว่างกระบวนการผลิตเนื่องจากมีความเสถียรสูงโดยมีความเสี่ยงต่อเชื้อจุลินทรีย์น้อยที่สุดไม่เหมือนโปรไบโอติก ยิ่งไปกว่านั้น อาหารที่สามารถปรับแต่งสำหรับรายบุคคล หรือที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่าโภชนาการแบบจำเพาะเจาะจง (1) จากการวินิจฉัยรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีความต้องการเกี่ยวกับโภชนาการแตกต่างกันจึงสามารถส่งเสริมวิธีการบริโภคที่เป็นลักษณะส่วนบุคคลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

            ♦นวัตกรรมแปรรูปอาหาร – การอัดขึ้นรูปอาหารเป็นกระบวนการที่บูรณาการการดำเนินงานหลายกระบวนการเข้าด้วยกันและประยุกต์สำหรับนำไปใช้กับอาหารหลายประเภท เนื่องจากการอัดขึ้นรูปต้องใช้ทั้งกระบวนการทางความร้อนและกระบวนการทางกล อย่างไรก็ตาม ผลกระทบต่อการคงสารอาหารไว้ไม่แน่นอนเนื่องจากความร้อนอาจทำลายคุณภาพทางโภชนาการและคาดว่าจะมีการเสื่อมสภาพที่รุนแรงจากสภาวะการอัดขึ้นรูปที่ไม่เหมาะสม (6)

            กฎระเบียบด้านอาหาร ความมั่นคงด้านอาหารและความยั่งยืนของระบบอาหารสำหรับอาหารในอนาคต – ความยั่งยืนทางอาหาร [ลิงก์ไปยังความยั่งยืนทางอาหาร] เป็นนโยบายด้านอาหารที่มีประสิทธิภาพและมีผลสืบเนื่องในเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว มีการดำเนินการหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับระบบอาหารที่ยั่งยืน เช่น อาหารออร์แกนิก  เพื่อลดความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมี การกินอาหารจากพืช  ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลงในเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง ใช้น้ำในการผลิตน้อยลงตลอดจนใช้พื้นที่ทางการเกษตรน้อยลง (3) นอกจากนี้ ความมั่นคงด้านอาหาร  ส่งผลกระทบต่อผู้คนเกือบ 1 พันล้านคนในปี 2563 (2) ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีวิธีแก้ปัญหาที่ยั่งยืนเพื่อปรับปรุงการเข้าถึงอาหารให้ดีขึ้น ปัญหานี้ไม่สามารถเพิกเฉยได้เพราะมีผลกระทบต่อทุกคน เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานอาหารทั่วโลกสัมพันธ์และเชื่อมโยงเราทุกคน

            อิโตะ ไทยแลนด์ให้บริการวิธีแก้ปัญหาด้านสุขอนามัยอาหารอย่างครบถ้วน และด้วยมาตรการการจัดการที่เหมาะสม นวัตกรรมด้านอาหารสามารถนำไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน

ข้อมูลอ้างอิง

1.EIT Food. (2021). Top 5 food tech innovations in targeted nutrition. Retrieved 18 October 2022, from https://www.eitfood.eu/blog/top-5-food-tech-innovations-in-targeted-nutrition

2.FAO, IFAD, UNICEF, WFP and WHO. 2021. The State of Food Security and Nutrition in the World 2021. Transforming food systems for food security, improved nutrition and affordable healthy diets for all. Rome, FAO.

3.Good Food Institute. (2019). Environmental benefits of plant-based meat products | GFI. Retrieved 18 October 2022, from https://gfi.org/resource/environmental-impact-of-meat-vs-plant-based-meat/

4.Martens, M. (1999). A philosophy for sensory science. Food Quality and Preference, 10(4–5), 233–244. https://doi.org/10.1016/S0950-3293(99)00024-5

5.Shao, P., Liu, L., Yu, J., Lin, Y., Gao, H., Chen, H., & Sun, P. (2021, December). An overview of intelligent freshness indicator packaging for food quality and safety monitoring. Trends in Food Science &Amp; Technology, 118, 285–296. https://doi.org/10.1016/j.tifs.2021.10.012

6.Singh, S., Gamlath, S., & Wakeling, L. (2007, August). Nutritional aspects of food extrusion: a review. International Journal of Food Science &Amp; Technology, 42(8), 916–929. https://doi.org/10.1111/j.1365-2621.2006.01309.x

7.(2022). Food safety. Retrieved 17 October 2022, from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/food-safety