ITO Thailand Hygiene Blog
เทคโนโลยีลดของเสียจากอาหาร (Food Waste Tech)
เทคโนโลยีลดของเสียจากอาหาร (Food Waste Reduction Tech) ช่วยลดขยะ เพิ่มกำไร และรักษ์โลกได้!
ของเสียจากอาหาร (Food Waste) เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบในหลากหลายมิติ ทั้งในเชิงธุรกิจ เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โรงงานอุตสาหกรรมอาหารจำนวนมากต้องแบกรับต้นทุนที่ไม่จำเป็นจากวัตถุดิบที่สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ทั้งในขั้นตอนการผลิต การจัดเก็บ และการขนส่ง ซึ่งไม่เพียงแต่กระทบต่อ กำไรและประสิทธิภาพของสายการผลิต เท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงความไม่ยั่งยืน (unsustainable) ของการดำเนินธุรกิจในระยะยาว (อ่านเพิ่มเติมเรื่องขยะอาหารและความยั่งยืน)
ในระดับมหภาค ปัญหา ของเสียจากอาหารในอุตสาหกรรมอาหาร ยังส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการฝังกลบหรือการเผาทิ้ง
(อ่านเพิ่มเติมเรื่องขยะและคาร์บอนฟุตพรินท์) รวมถึงการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ทั้งน้ำ พลังงาน และแรงงาน ส่งผลต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม ดังนั้นการวางแผนจัดการและลดของเสียจากอาหารจึงกลายเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักของโรงงานยุคใหม่ที่ต้องการตอบโจทย์ด้าน ความยั่งยืน (Sustainability) และ การผลิตที่รับผิดชอบต่อสังคม (Responsible Manufacturing)
แนวทางเทคโนโลยีที่ช่วยลดของเสียจากอาหาร (Food Waste Reduction Technologies)
1.ระบบติดตามคุณภาพอาหาร (Food Quality Monitoring)
คุณภาพของอาหารสามารถตรวจสอบได้จากการเปลี่ยนแปลงของลักษณะภายนอก เช่น สี กลิ่น หรือการเกิดสารระเหย หรือปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อคุณภาพของอาหาร เช่น แสง อุณหภูมิ ความชื้น แรงกระทำ (อ่านเพิ่มเติม) โดยมีการใช้เซนเซอร์ตรวจจับหรืออินดิเคเตอร์เปลี่ยนสี (อ่านเพิ่มเติม) เพื่อแสดงสถานะความสดของอาหารในแบบเรียลไทม์
2.ระบบซอฟต์แวร์วิเคราะห์และบริหารจัดการ
การนำซอฟต์แวร์อัจฉริยะเข้ามาช่วยบริหารจัดการการผลิตและคลังสินค้า เช่น ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning), WMS (Warehouse Management System) หรือ MES (Manufacturing Execution System) ช่วยให้โรงงานสามารถวางแผนการผลิตได้แม่นยำยิ่งขึ้น ลดของเสียจากการผลิตเกินหรือสต็อกค้าง ด้วยฟีเจอร์อย่างการทำนายความต้องการล่วงหน้า, การวิเคราะห์ข้อมูลการผลิต, การแจ้งเตือนความผิดปกติแบบเรียลไทม์ และการควบคุมต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับสายการผลิตยุคใหม่ ProManage [1] คือหนึ่งในระบบ MES สำหรับ Smart Factory ที่ได้รับความนิยม ด้วยความสามารถในการติดตามประสิทธิภาพเครื่องจักร พร้อมเชื่อมต่อระบบต่าง ๆ ได้อย่างครบวงจร
3.การใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotics & Automation)
ในยุคที่อุตสาหกรรมอาหารให้ความสำคัญกับ ความแม่นยำ, ความสะอาด, และ การลดของเสีย หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยยกระดับกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพและความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
การใช้หุ่นยนต์ (Robot/Cobot) เช่น Collaborative Robot (Cobot) สามารถเข้ามาทำงานในจุดที่ต้องทำซ้ำบ่อย ๆ เช่น การแยกสินค้าตามขนาดหรือประเภท, การบรรจุผลิตภัณฑ์ลงกล่อง, การวางเรียงสินค้าลงพาเลต และแม้แต่การจัดวางสินค้าบนสายพานในลักษณะที่พร้อมสำหรับกระบวนการถัดไป โดย ลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากความเหนื่อยล้าหรือความไม่สม่ำเสมอของแรงงานมนุษย์
นอกจากนี้ การผสาน ระบบตรวจสอบคุณภาพอัตโนมัติ (Inspection Systems) เข้ากับกระบวนการผลิต ยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถควบคุมมาตรฐานสินค้าได้อย่างใกล้ชิด ตัวอย่างเช่น:
•Weight Checker: ตรวจสอบน้ำหนักของสินค้าแต่ละชิ้นหรือแต่ละกล่องโดยอัตโนมัติ ช่วยแยกสินค้าที่น้ำหนักเกินหรือต่ำเกินไปออกจากสายการผลิตทันที ป้องกันไม่ให้สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานส่งถึงลูกค้า และลดการสูญเสียที่เกิดจากการต้องเรียกคืนหรือเสียชื่อเสียง
•Vision Inspection System: ใช้กล้องและ AI ตรวจสอบลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ เช่น รูปร่าง สี รอยตำหนิ การจัดวางไม่ถูกต้อง หรือการพิมพ์ที่ผิดพลาด ช่วยลดของเสียจากการผลิตผิดพลาดตั้งแต่ต้นทาง และรักษาคุณภาพที่สม่ำเสมอในทุกชิ้นงาน
•Metal Detector & X-Ray Inspection: ตรวจสอบสิ่งแปลกปลอม เช่น โลหะ เศษพลาสติก หรือวัตถุแปลกปลอมที่อาจปะปนในกระบวนการผลิต ช่วยเพิ่มความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) และป้องกันปัญหาทางกฎหมาย
4.แพลตฟอร์มสำหรับจำหน่ายสินค้าเหลือขายหรือสินค้าที่รูปลักษณ์ไม่สมบูรณ์
ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ได้มีการพัฒนาแพลตฟอร์มที่ช่วยกระจายสินค้าที่ขายไม่หมด หรือสินค้าที่ยังดีแต่รูปลักษณ์ไม่สมบูรณ์ เช่น
•Yindii – แอปกล่องสุ่มจากร้านอาหารที่ขายไม่หมดในราคาลดพิเศษ [2]
•Ugly Veggies – ตลาดขายผักและผลไม้ที่รูปร่างไม่สวยแต่คุณภาพดี [3]
บริษัท อิโตะ(ไทยแลนด์) จำกัด ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหาร ผ่านการส่งเสริมการใช้ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ที่ช่วยลดของเสีย เพิ่มความแม่นยำ และประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ตั้งแต่การจัดการวัตถุดิบ การบรรจุ ไปจนถึงการตรวจสอบคุณภาพ เพื่อใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมสนับสนุนโรงงานไทยให้ก้าวสู่อนาคตที่ปลอดภัย ยั่งยืน และแข่งขันได้ในระดับโลก
เอกสารอ้างอิง
Related Post
-
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในอุตสาหกรรมอาหาร
เราสามารถนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มองไม่เห็น มาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหารได้อย่างไรบ้าง?
-
โปรตีนจากแมลงที่กินได้
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการเรียกร้องให้สร้างความตระหนักถึงการบริโภคอย่างยั่งยืน เราได้พูดคุยกันว่าอาหารจากพืช สามารถให้ประโยชน์ต่อสุขภาพได้อย่างไร และการยอมรับของผู้บริโภคต่ออาหารทดแทนเนื้อสัตว์ เนื่องจากการบริโภคเนื้อสัตว์มีส่วนสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นักวิจัยจึงได้ค้นพบแหล่งอาหารแห่งใหม่ที่มีโปรตีนสูงและยั่งยืนนั่นก็คือแมลง
-
บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพ
บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพหมายถึงบรรจุภัณฑ์ใดที่จะแตกสลายและย่อยสลายตามธรรมชาติตรงตามชื่อ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพได้รับการบรรจุเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับหลายองค์กร ในบล็อกที่แล้ว ได้กล่าวถึงประเด็นที่คล้ายกันคือ พลาสติกชีวภาพ ซึ่งเป็นทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ยังมีความแตกต่างระหว่างกันบางประการ ตัวอย่างเช่น พลาสติกชีวภาพ ทำมาจากวัตถุดิบที่มีแหล่งที่มาจากแหล่งธรรมชาติและหมุนเวียนและอาจหรือไม่อาจย่อยสลายทางชีวภาพก็ได้ ในทางตรงกันข้าม พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติผ่านสิ่งมีชีวิตไม่ว่าวัสดุจะกำเนิดมาจากแหล่งใด ในบล็อกนี้จะกล่าวถึงประวัติการพัฒนาของบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพ วัสดุที่ใช้บ่อย ข้อดีและข้อเสียของบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพ และแนวโน้มในอนาคตของบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพ
-
การเกษตรแบบแม่นยำ
การเกษตรแบบแม่นยำได้ปฏิวัติวิธีการจัดการการเพาะปลูกโดยการใช้ปัจจัยการผลิตให้เหมาะสมที่สุดเพื่อให้ตรงกับความต้องการที่เฉพาะเจาะจง ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ระบบใหม่ แต่เทคโนโลยีล่าสุดทำให้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติในการผลิตได้จริง ในบล็อกนี้ เราจะพูดถึงคำจำกัดความของการเกษตรแบบแม่นยำ ข้อดีข้อเสีย และแนวโน้มในอนาคต
-
เกษตรกรรมแนวตั้ง
การเกษตรได้ใช้ประโยชน์จากที่ดินที่มีอยู่เกือบทั้งหมด ทำให้การหาที่ดินบนผิวโลกทำได้ยากขึ้น ด้วยทรัพยากรที่จำกัด การตอบสนองความต้องการด้านอาหารของโลกจึงต้องมีวิธีการที่สร้างสรรค์และเชื่อถือได้มากขึ้นในการผลิตอาหารที่ปลอดภัย และคำตอบคือเกษตรกรรมแนวตั้งนั่นเอง
-
บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ
หากไม่มีบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหารจะสามารถอยู่ได้เพียงช่วงเวลาสั้นๆ ไม่สามารถจัดการด้านโลจิสติกส์ได้ มีความยากลำบากในระบบห่วงโซ่อุปทาน การเสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มที่จะปนเปื้อนเชื้อโรคที่มีความเสี่ยงในอาหาร ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีฟังก์ชันอีกมากมายที่บรรจุภัณฑ์มีส่วนช่วยในผลิตภัณฑ์อาหาร เช่นเดียวกับบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะหลายประเภท ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ ดังนั้นในบล็อกนี้ เราจะพูดถึงการใช้ประโยชน์จากบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะในผลิตภัณฑ์อาหาร