ITO Thailand Hygiene Blog
Cobot ในอุตสาหกรรมอาหาร: พลิกโฉมไลน์ผลิตให้ปลอดภัย ยืดหยุ่น และคุ้มค่า
Cobot ในอุตสาหกรรมอาหาร: พลิกโฉมไลน์ผลิตให้ปลอดภัย ยืดหยุ่น และคุ้มค่า
Cobot (Collaborative Robot) เป็นหุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย ไม่ต้องมีกรงนิรภัยแยกออกจากพื้นที่ปฏิบัติการของพนักงาน เนื่องจากมีระบบเซนเซอร์รอบตัว เพื่อชะลอหรือหยุดทำงานเมื่อมีพนักงานเข้ามาในระยะทำงาน และระบบหยุดหรือถอย เมื่อได้รับแรงกระทำ ทำให้มีความปลอดภัย แตกต่างจากหุ่นยนต์แบบเดิม (Industrial robot) ที่ต้องมีพื้นที่แยกเพื่อความปลอดภัย
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง Industrial robot และ Collaborative robot
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Cobot ในสายการผลิตอาหาร
ในปัจจุบัน โรงงานอุตสาหกรรมอาหารเริ่มมีการนำ Cobot เข้ามาใช้งานมากขึ้นในหลายจุด โดยเฉพาะกระบวนการที่ต้องการความแม่นยำ ปลอดภัย และเปลี่ยนรูปแบบการผลิตได้รวดเร็ว หรือต้องการเพิ่มกำลังการผลิต แต่มีพื้นที่ปฏิบัติการจำกัด และยังต้องมีการปฏิบัติการของมนุษย์ร่วมด้วย ทำให้จำเป็นต้องใช้ Cobot (อ่านเพิ่มเติมเรื่องการใช้หุ่นยนต์เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต)
ตัวอย่างการใช้งาน Cobot ในอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่:
1.การหยิบและจัดวาง (Pick and Place)
เหมาะสำหรับงานที่มีลักษณะซ้ำๆ ในการขนย้ายวัตถุ จากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น หยิบขนมปังจากเตาอบไปวางบนสายพาน การจัดเรียงผลิตภัณฑ์ลงกล่องบรรจุภัณฑ์ การยกกล่องบรรจุภัณฑ์ขึ้นพาเลต เป็นต้น โดยสามารถทำงานได้อย่างแม่นยำ สามารถโปรแกรมตามลักษณะของวัตถุที่ต้องการหยิบได้หลากหลาย โดยเลือกหัวจับให้เหมาะกับวัตถุ โดยสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง ไม่เหนื่อยล้า ช่วยลดปัญหาอาการบาดเจ็บของพนักงานจากการขยับกล้ามเนื้อเดิมซ้ำ ๆ
นอกจากนี้ อาจมีการตั้งโปรแกรมเพื่อเปลี่ยนหัวจับเมื่อเปลี่ยนชนิดของวัตถุได้อีกด้วย (ตัวอย่างวีดีโอการเปลี่ยนหัวจับตามลักษณะสินค้า )งานในลักษณะนี้ อาจมีความจำเป็นต้องใช้ Cobot เนื่องจากพื้นที่จำกัด ต้องทำงานร่วมกับพนักงานในการจัดเรียง หรือเพื่อความปลอดภัยของผู้ควบคุมคุณภาพในการเข้าไปในโซนใกล้หุ่นเพื่อชักตัวอย่างไปตรวจสอบคุณภาพ เป็นต้น
ในการหยิบอย่างง่าย สามารถใช้ระบบ Freehand teaching เพื่อจำลองการขยับจริงของโคบอท จากการโยกขยับแขนกลด้วยมือแบบ manual และกดบันทึกการขยับ เพื่อให้แขนกลขยับซ้ำในตำแหน่งที่กำหนด หรือปรับค่าโดยละเอียดเพิ่มเติมจาก Pendant หลังจาก freehand teaching ก็ได้เช่นกัน
2.การบรรจุภัณฑ์ (Packaging & Palletizing)
Cobot ช่วยจัดเรียงกล่องสินค้าใส่พาเลท หรือเรียงของจากพาเลทเข้าสู่ไลน์ผลิต ได้อย่างต่อเนื่อง โดยใช้พื้นที่ในการทำงานน้อย โดยเหมาะกับการทำงานร่วมกับพนักงาน และมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงการขยับของแขนกล สอนการเคลื่อนที่ได้ง่าย โดยที่ความเร็วและน้ำหนักในการจัดเรียง อยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง
3.การตรวจสอบคุณภาพ (Inspection)
ระบบแขนกลของ Cobot สามารถทำงานร่วมกับกล้องหรือเซนเซอร์เพิ่มเติม เพื่อตรวจสอบตำหนิหรือความผิดปกติของผลิตภัณฑ์ เช่น รูปร่างผิดปกติ ขนาดผิดปกติ รอยไหม้ หรือการคัดแยกผลิตภัณฑ์จากลักษณะที่แตกต่างกันได้ ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบคุณภาพ โดยสามารถทำงานร่วมกับพนักงานที่ต้องจัดเรียงสินค้าได้ หรือช่วยในการจัดกลุ่มสินค้า ให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุได้ดี
4.การชง ชั่ง และผสมวัตถุดิบ
ในบางสายการผลิต Cobot ใช้ในการเทส่วนผสม ชั่งตวง หรือผสมวัตถุดิบตามสูตรที่กำหนด โดยสามารถปรับสูตรได้ง่ายด้วยการกำหนดซอฟท์แวร์ และทำงานร่วมกับเซนเซอร์น้ำหนักหรือปริมาตร ลดการปนเปื้อนข้ามจากมนุษย์ เนื่องจากลดการสัมผัสจากพนักงาน
หากท่านกำลังวางแผนเริ่มต้นโครงการระบบหุ่นยนต์ ไม่ว่าจะเป็น Industrial Robot หรือ Collaborative Robot (Cobot)
สามารถศึกษาขั้นตอนและแนวทางการตั้งโปรเจคเบื้องต้นได้ที่บทความนี้ หรือติดต่อทีมงานของเรา เพื่อรับคำแนะนำและข้อมูลเพิ่มเติมที่เหมาะกับไลน์การผลิตของท่านโดยเฉพาะ
Related Post
-
Air Shower – ลดการปนเปื้อน ก่อนเข้าสู่พื้นที่สะอาด
คุณกำลังเจอปัญหาเหล่านี้อยู่หรือไม่? ฝุ่นและสิ่งสกปรกปนเปื้อนเข้าไปในพื้นที่ผลิต ทำให้สินค้าหรือกระบวนการผลิตมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน พนักงานนำสิ่งปนเปื้อนเข้าไปโดยไม่รู้ตัว ลดคุณภาพของสินค้า และเพิ่มโอกาสในการเกิดข้อผิดพลาด ต้องใช้แรงงานทำความสะอาดพื้นที่ตลอดเวลา สิ้นเปลืองต้นทุนและเวลา แต่ปัญหาการปนเปื้อนก็ยังเกิดขึ้น การตรวจสอบมาตรฐาน GMP หรือ HACCP มีปัญหา เพราะโรงงานยังควบคุมการปนเปื้อนได้ไม่ดีพอ ถ้าปัญหาเหล่านี้กำลังเกิดขึ้นในโรงงานของคุณ Air Shower (แอร์ชาวเวอร์) คือคำตอบของคุณ
-
5 ปัญหาที่หาทางออกได้ด้วย เครื่องล้างพื้นรองเท้าอัตโนมัติ (Boot cleaner)
คุณกำลังเผชิญปัญหาเหล่านี้อยู่หรือไม่? Boot Cleaner คือโซลูชันที่ช่วยคุณได้! ฝุ่น สิ่งสกปรก และเชื้อโรคติดมากับพื้นรองเท้าเข้าสู่พื้นที่ผลิต ทำให้กระบวนการผลิตเสี่ยงต่อการปนเปื้อน พนักงานไม่ปฏิบัติตามมาตรการทำความสะอาด 100% ล้างรองเท้าไม่สะอาด หรือข้ามขั้นตอนไป มีคราบวัตถุดิบ น้ำมัน จาระบี หรือสารเคมีสะสมในโรงงาน เพิ่มความเสี่ยงต่อการลื่นล้ม ลดอายุการใช้งานของพื้น และปนเปื้อนข้ามสู่โซนสะอาด ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูงในการทำความสะอาดพื้นที่บ่อยๆ การตรวจสอบมาตรฐาน GMP, HACCP หรือ ISO อาจไม่ผ่าน เพราะโรงงานไม่มีมาตรการควบคุมการปนเปื้อนจากพื้นรองเท้า
-
4 เหตุผลในการเลือกใช้แปรงคุณภาพ Takasago
เลือกแปรงทำความสะอาดให้เหมาะสม เพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยในโรงงานอาหาร
-
7 ข้อดีของเครื่องพันฟิล์มพาเลต: เพิ่มความเร็ว ลดต้นทุน และลดแรงงานให้กับคุณ
ในอุตสาหกรรมอาหาร กระบวนการแพ็คสินค้าท้ายไลน์ (End-of-Line Packaging) มีบทบาทสำคัญในการป้องกันความเสียหายของสินค้า ลดต้นทุนแรงงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง โดยเฉพาะการ พันฟิล์มพาเลต ซึ่งช่วยให้สินค้าคงสภาพดี ลดการปนเปื้อน และประหยัดฟิล์มได้มากกว่าการใช้แรงงานคน
-
การควบคุมฝุ่นในกระบวนการผลิต: การจัดการและโซลูชั่นที่คุณต้องรู้
การนำฝุ่นเข้าสู่บริเวณผลิตสามารถเกิดขึ้นได้หลายทาง ทั้งจากอากาศ ร่างกายพนักงาน หรือแม้กระทั่งจากการขนส่งวัสดุ ฝุ่นที่มาพร้อมกับพาหะเหล่านี้ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร แต่ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงด้านสุขภาพของพนักงาน และทำให้กระบวนการผลิตเกิดความไม่สะดวก การเข้าใจถึงแหล่งที่มาของฝุ่นและวิธีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดผลกระทบและสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
-
เปรียบเทียบความแตกต่าง ลูกกลิ้ง – เครื่องดูดฝุ่นและเส้นผม – แอร์ชาวเวอร์
ฝุ่น เส้นผม เส้นขน เศษด้าย เป็นการปนเปื้อนทางกายภาพที่พบได้บ่อยในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งนอกจากการเปลี่ยนชุด รองเท้า ใส่หมวกและชุดคลุมแล้ว การกำจัดสิ่งปนเปื้อนด้วยวิธีต่าง ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่จำเป็นในการลดความเสี่ยงการปนเปื้อน ซึ่งในบรรดาอุปกรณ์ที่ใช้ในขั้นตอนนี้ เช่น ลูกกลิ้ง เครื่องดูดฝุ่นและเส้นผม ห้องเป่าลมหรือแอร์ชาวเวอร์ มักถูกเปรียบเทียบกันอยู่เสมอ ว่าอันไหนดี อันไหนมีความจำเป็น ต้องใช้ซ้ำซ้อนกันหรือไม่ อย่างไร