ITO Thailand Hygiene Blog
5 โซลูชั่นการลดสารเคมีสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อในกระบวนการผลิตอาหาร
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสารเคมี เป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็นในกระบวนการผลิตอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารเคมีสำหรับการทำความสะอาด และการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อความปลอดภัยและยืดอายุของอาหาร แต่การใช้สารเคมีในปริมาณมาก มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ปัญหาการปนเปื้อนสารเคมีตกค้างลงสู่อาหาร ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ไปจนถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียปนเปื้อนสารเคมี ก่อนปล่อยระบายน้ำเสีย ที่หากจัดการได้ไม่ดี จะเกิดปัญหาปนเปื้อนสารเคมีในแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่อาจทำลายความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศ หรือกรณีที่ ประเทศปลายทาง หรือลูกค้า มีความต้องการเฉพาะ เกี่ยวกับข้อกำหนดการใช้สารเคมี ทำให้ไม่สามารถใช้สารเคมีปกติได้
ไอเดียการลดสารเคมีสำหรับทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ
1.การทำความสะอาดแห้ง
การทำความสะอาดแบบแห้ง เช่น การใช้ลมเป่าฝุ่นแห้ง การใช้ลูกกลิ้งกาวเก็บฝุ่น การใช้เครื่องดูดฝุ่น สามารถช่วยทำความสะอาดฝุ่นปนเปื้อนเบื้องต้นได้บ้าง ทำให้ใช้เวลาและสารเคมีในการล้างทำความสะอาดลดลง หรือมีรอบการทำความสะอาดที่นานขึ้นได้ รวมไปถึงลดโอกาสการเจริญของจุลินทรีย์หรือเชื้อรา อันเนื่องมาจากความชื้น ซึ่งในปัจจุบัน มีนวัตกรรมเกี่ยวกับการเก็บฝุ่น ที่คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ของเรา
อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับ ลูกกลิ้งเก็บฝุ่นชนิดล้างใช้ซ้ำได้
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เครื่องดูดฝุ่นและเส้นผม
2.ระบบโอโซนและฟองอากาศไมโคร-นาโน
ในปัจจุบัน โซลูชั่นฟองอากาศไมโคร-นาโน (Ultrafine bubbles) ร่วมกับก๊าซโอโซน เป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้นในอุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การล้างทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อ โดยหลักการของการทำความสะอาดด้วยฟองขนาดเล็กระดับไมโครหรือนาโนเหล่านี้ จะสามารถแทรกเข้าไปใต้คราบสกปรกต่าง ๆ และระเบิดเกิดเป็นแรงดันเล็ก ๆ ในการขจัดคราบสกปรก (อ่านเพิ่มเติม🙂 ส่วนการเติมแก๊สโอโซน สามารถช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ดี ด้วยสมบัติการเป็นสารออกซิไดซ์ โดยระบบที่ทางอิโตะ (ไทยแลนด์) มีจำหน่าย ผ่านการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ในการฆ่าเชื้อ E. coli, Salmonella enterica, and Staphylococcus aureus ได้ ในเวลาภายใน 1 นาที (*ตามสภาวะที่ทดลองในระดับปฏิบัติการ)
หากคุณสนใจโซลูชั่นฟองอากาศไมโคร-นาโน และโอโซน สามารถ ติดต่อเรา เพื่อพูดคุยรายละเอียดเพิ่มเติมและออกแบบระบบที่เหมาะสมกับการใช้งานจริง
3.แสงยูวี
สำหรับบริเวณพื้นผิวต่าง ๆ การใช้แสงยูวีอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลไกการฆ่าเชื้อด้วยแสง) อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของการฆ่าเชื้อด้วยแสง คือจะได้ผลดีเฉพาะบนพื้นผิวนอก ที่สามารถสัมผัสแสงได้เพียงพอ แต่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อในจุดที่มีความลึกหรือซับซ้อน
4.การใช้ความร้อน
ความร้อนเป็นอีกหนึ่งอาวุธในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ การใช้น้ำร้อนสามารถละลายคราบไขมัน คราบน้ำตาล และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำปฏิกิริยาของสารเคมีได้ อย่างไรก็ตาม คราบบางชนิดอาจฝังแน่นขึ้นหากได้รับความร้อนที่สูงเกินไป เช่น โปรตีนที่อาจเกิดการเสียสภาพ
5.การใช้แรงดัน
การใช้แรงดันน้ำ เป็นการเพิ่มแรงกลในการทำความสะอาด สามารถขจัดคราบในส่วนที่เข้าถึงได้ยาก เช่น ซอกมุมต่าง ๆ ได้ และช่วยให้การขจัดคราบรวดเร็วมากขึ้น เพียงแต่ต้องระมัดระวัง การฟุ้งกระจายของสิ่งสกปรกที่ถูกฉีดล้างออกมาด้วยเช่นกัน
Related Post
-
6 จุดเด่น ของเครื่องดูดฝุ่นและเส้นผมสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร
เครื่องดูดฝุ่นและเส้นผมสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร: กำจัดเส้นผมและฝุ่นละอองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้งานง่าย ลดการปนเปื้อนจากพนักงาน บำรุงรักษาง่าย วัสดุทนทาน มาตรฐานสูงเพื่อความปลอดภัยของอาหาร
-
5 เทคนิคการจัดทำโปรเจคหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในระบบอุตสาหกรรมอาหาร
เรียนรู้ 5 เทคนิคการจัดทำโปรเจคหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในระบบอุตสาหกรรมอาหาร เพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน สร้างผลตอบแทนจากการลงทุนที่คุ้มค่า พร้อมคำแนะนำในการเลือกหุ่นยนต์ที่เหมาะสม และการบำรุงรักษาให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
-
ระบบสายพานอัตโนมัติในอุตสาหกรรมอาหาร
ทำความรู้จักความสำคัญของสายพานในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร ที่นับว่ามีความสำคัญมาก ๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
-
D-quick นวัตกรรมใหม่ ตัวช่วยเพื่อความยั่งยืน
หากคุณมีความสนใจด้านการลดขยะเพื่อความยั่งยืน เช่นการเปลี่ยนลูกกลิ้งเป็นแบบล้างน้ำใช้ซ้ำ แต่ติดปัญหาเรื่องเวลาที่ใช้ในการล้างทำความสะอาด โปรดอ่านบล็อกนี้ เรามีตัวช่วยสำหรับคุณ
-
ปฏิวัติวงการอุตสาหกรรมอาหารด้วยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
ปฏิวัติวงการอุตสาหกรรมอาหารด้วยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ตอน หุ่นยนต์ท้ายไลน์ผลิต
-
ปฏิวัติวงการอุตสาหกรรมอาหารด้วยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
ปฏิวัติวงการอุตสาหกรรมอาหารด้วยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ตอน หุ่นยนต์หยิบอาหารในกระบวนการผลิต