ITO Thailand Hygiene Blog

Feb 14 2022

การปนเปื้อนเส้นผม/ขนในอาหาร

            การปนเปื้อนที่เกิดจากพนักงาน อาจเป็นชิ้นส่วนของเสื้อผ้า อุปกรณ์ เช่น เศษถุงมือ เศษด้าย ขุยผ้า กระดุมเสื้อ เครื่องประดับที่พนักงานฝืนกฏและนำเข้าสู่บริเวณการผลิต แต่การปนเปื้อนที่พบได้มากที่สุดและควบคุมได้ยากที่สุด คือการปนเปื้อนจากร่างกายของพนักงาน อาทิ เส้นผม เส้นขน หนวดเครา รังแค เศษผิวหนัง สารคัดหลั่ง เช่น เหงื่อ น้ำมูก น้ำลาย เศษสกปรกจากซอกเล็บ เลือดและสะเก็ดแผล รวมไปถึงสารเคมีจากผลิตภัณฑ์ที่พนักงานใช้ เช่น แชมพู ครีมนวด น้ำหอม ยาทาเล็บ เขม่าบุหรี่ เป็นต้น ซึ่งการป้องกันการปนเปื้อนเหล่านี้ ทำได้ทั้งการวางกฏและปฏิบัติตามกฏอย่างเคร่งครัด มีการสอดส่อง กำกับดูแล เช่น การห้ามใส่เครื่องประดับหรือวัตถุที่อาจปนเปื้อนเข้าสู่ส่วนผลิต การห้ามผู้ที่มีแผลเปิดเข้าทำงานในส่วนที่มีความเสี่ยงสูง การให้ตัดเล็บ มัดผม งดทาเล็บ งดสูบบุหรี่ เป็นต้น และการจัดหาอุปกรณ์ช่วยสนับสนุน เช่น พลาสเตอร์ปิดแผลที่มีสีเห็นได้ชัดเจน (ในโรงงานอาหารมักจะให้ใช้พลาสเตอร์ปิดแผลสีฟ้า) หรือตรวจได้ด้วยเครื่องตรวจจับโลหะ การจัดหาผ้าปิดปาก หมวกคลุมผม ชุดคลุมหรือผ้ากันเปื้อน ปลอกแขน รองเท้าบูท ล็อกเกอร์ และอ่างล้างมือมีจำนวนเพียงพอกับพนักงาน ในกรณีที่โรงงานมีขนาดใหญ่หรือมีพนักงานมาก อาจมีการจัดหาเครื่องมือในการทำความสะอาดเครื่องแบบของพนักงานด้วย เช่น เครื่องล้างรองเท้าบูท เครื่องซักผ้าอุตสาหกรรม เครื่องอบผ้าอุตสาหกรรม เครื่องผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อ เป็นต้น

การปนเปื้อนเส้นผม/ขนและผลกระทบ

              การปนเปื้อนที่พบมากที่สุดคือการปนเปื้อนจากเส้นผมหรือเส้นขน (หนวด เครา ขนแขน ขนจมูก) ซึ่งผู้บริโภคที่พบการปนเปื้อนมักเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีได้ง่าย เนื่องจากเส้นผมหรือเส้นขนมักมีขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ชัดเจน ยิ่งในปัจจุบันการกระจายไปในโซเชียล รูปถ่ายผลิตภัณฑ์ที่มีการปนเปื้อนจะแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว ในกรณีที่เส้นผมมีความยาว ผู้บริโภคอาจเกิดอันตรายทางกายภาพ เช่น ติดคอ สำลัก นอกจากนี้การปนเปื้อนสารเคมี (แชมพู ครีมนวดบนเส้นผม สีย้อมผม) และสิ่งสกปรกต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย (Staphylococcus aureus) ไขมันจากต่อมไขมัน เศษรังแค เชื้อรา อาจจะส่งเสริมหรือก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ ทางอาหารได้อีกด้วย

การป้องกันการปนเปื้อน

              ใน 1 วัน มนุษย์จะมีผมร่วงโดยเฉลี่ย 100-150 เส้น [1]  หรือเฉลี่ย 33-50 เส้นต่อ 1 กะการทำงาน (8 ชั่วโมง) ยิ่งมีพนักงานมาก ความเสี่ยงที่จะมีการปนเปื้อนก็จะยิ่งสูงขึ้น นอกจากนี้ ชนิดของผลิตภัณฑ์อาหารหรือกระบวนการที่ใช้ผลิต ก็มีผลต่อการปนเปื้อนด้วย เช่น ลักษณะการผสมหรือให้ความร้อนในภาชนะปิด กระบวนการร่อน กรอง จะช่วยลดความเสี่ยงการปนเปื้อน ในขณะที่กระบวนการที่จำเป็นต้องใช้มือทำงาน เช่น การนวดแป้ง การคนผลิตภัณฑ์ในหม้อ การตัดแต่งเนื้อสัตว์ เป็นต้น ซึ่งบางครั้งกระบวนการเหล่านี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น หมวกคลุมผม ผ้าปิดปาก ปลอกแขนหรือเครื่องแบบแขนยาว ถุงมือ สามารถช่วยลดโอกาสการปนเปื้อนเส้นผมหรือเส้นขนได้ นอกจากนี้ การกำจัดเส้นผมหรือขนที่หลุดร่วงก่อนเข้าส่วนผลิต เช่น การใช้ลูกกลิ้งกระดาษ การใช้ลูกกลิ้งกาวแบบใช้ซ้ำได้ การเก็บเศษผมจากรองท้าด้วยแผ่นพรมกาว การใช้ห้องลมเป่า การใช้เครื่องดูดฝุ่นและเส้นผม เป็นต้น ร่วมกับการวางกฏข้อบังคับให้พนักงานใช้อุปกรณ์เหล่านี้อย่างเคร่งครัด หรือกำหนดเวลาในการใช้ เช่น การจับเวลา การนับครั้งการใช้และฉีกแผ่นกาวของลูกกลิ้ง การใช้อุปกรณ์นับเวลาการใช้ลูกกลิ้ง เป็นต้น จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงการปนเปื้อน และสามารถยกระดับมาตรฐานความสะอาดในโรงงานได้

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องป้องกันการปนเปื้อนเส้นผม/ขน

            ในปัจจุบัน เทคโนโลยีในการป้องกันการปนเปื้อนมีความพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องดูดฝุ่นและเส้นผมจาก อิโตะ ไทยแลนด์ ที่พัฒนาการดูดเส้นผมจากลูกกลิ้งกระดาษมาเป็นลักษณะเครื่องอัตโนมัติ โดยใช้แรงสุญญากาศในการดูด และเก็บเส้นผม ขน รวมถึงฝุ่นที่ติดกับเสื้อผ้า โดยสามารถดึงเศษฝุ่นและเส้นผมได้ด้วยแรงดูด โดยที่ไม่ต้องสัมผัสเส้นผมโดยตรงเหมือนลูกกลิ้งแบบเดิม เนื่องจากแรงดูดสามารถดึงเศษผมและฝุ่นบริเวณข้างเคียงได้ด้วย เส้นผมและเศษฝุ่นที่เก็บได้ จะถูกเก็บลงในถุงกรอง สามารถนำไปทิ้งได้อย่างสะดวก และสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และสะดวกเนื่องจากไม่ต้องฉีกกระดาษกาวลูกกลิ้งในระหว่างการใช้งาน และมีแรงดึงเศษฝุ่นผมสม่ำเสมอ ไม่ขึ้นกับความเหนียวของกาวแบบลูกกลิ้งแบบทั่วไป  

            อีกทั้งยังมีระบบตั้งเวลานับถอยหลังและนับจำนวนการใช้งาน เพื่อช่วยสนับสนุนให้พนักงานใช้งานเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงเก็บข้อมูลการใช้งานในแต่ละวันเป็นไฟล์ข้อมูล สามารถนำข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ได้เพื่อการตรวจติดตามความสะอาดในโรงงาน หรือตรวจสอบย้อนการใช้งานในช่วงที่เกิดปัญหาการปนเปื้อนได้อีกด้วย

              หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องดูดฝุ่นและเส้นผม สามารถ ติดต่อเราได้ที่ คลิก

เอกสารอ้างอิง

1.Poonia, K., Thami, G. P., Bhalla, M., Jaiswal, S., & Sandhu, J. (2019). NonScarring Diffuse Hair Loss in Women: a Clinico‐Etiological Study from tertiary care center in North‐West India. Journal of cosmetic dermatology18(1), 401-407.

Related Post