ITO Thailand Hygiene Blog
มารู้จักมาตรฐาน GHP กันเถอะ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าความสะอาดในอาหารเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากอาหารที่ไม่สะอาดเพียงพออาจก่อให้เกิดอาการป่วยได้ เช่น ท้องเสีย การปนเปื้อนของพยาธิและเชื้อโรคต่างๆ แผลในปากจากสิ่งแปลกปลอม เป็นต้น หรือหากเป็นโรคร้ายแรง อาจถึงขั้นพิการสูญเสียอวัยวะหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นในแต่ละประเทศจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อควบคุมสุขลักษณะของอาหาร ให้ปลอดภัย คุ้มครองผู้บริโภค และเป็นไปตามมาตรฐานสากล
สำหรับในประเทศไทยเอง มาตรฐานตามกฎหมายที่สำคัญคือ GMP (Good Manufacturing Practices) ซึ่งจำเป็นต้องผ่านมาตรฐานก่อนตั้งโรงงานอาหาร ซึ่งในปัจจุบันกำลังมีความพยายามจะยกระดับตามมาตรฐานสากลของ CODEX เวอร์ชั่น 2020 ให้เป็นมาตรฐานการปฏิบัติตามสุขลักษณะที่ดี Good Hygiene Practices (GHP) (ปัจจุบันคือ ร่าง มกษ. 9023-2564 และมกษ. 9024-2564) ซึ่งจะมีความครอบคลุมและรายละเอียดมากขึ้น มีการขยายขอบข่ายจากเฉพาะโรงงานหรืออุตสาหกรรมการผลิตอาหาร เป็นผู้ประกอบการอาหาร (Food Business Operators; FBOs) เช่น การค้าปลีก การบริการ และการขนส่งอาหารด้วย โดยให้ภาพกว้างระบุว่า “ตามความจำเป็น” หรือ “ตามความเหมาะสม” ซึ่งสำหรับคำตอบว่าเหมาะสมหรือไม่ พิจารณาจากความน่าจะเป็น ความรุนแรง โอกาสเกิดโทษกับผู้บริโภค เพราะแต่ละผู้ประกอบการก็มีรายละเอียด ความจำเป็น สถานการณ์ที่แตกต่างกันไป
ประเด็นที่น่าสนใจในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มีหลายประเด็น เช่น
1. บทบาทของผู้ประกอบการ ควรสนับสนุนในการสร้างวัฒนธรรมเชิงบวกเกี่ยวกับความปลอดภัยอาหาร โดยฝ่ายบริหารควรสนับสนุนฝ่ายปฏิบัติการด้วย
2. สารก่อภูมิแพ้ ซึ่งต้องให้ความสำคัญในการจัดการและป้องกันการปนเปื้อน
3. การฝึกอบรมที่เพิ่มขึ้น อาทิ การอบรมเกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้ อันตรายที่เกี่ยวข้องกับอาหาร สภาวะการเก็บอาหาร การใช้และบำรุงรักษาเครื่องจักร เป็นต้น
4. การฝึกอบรมทบทวนฟื้นฟูความรู้ และการบันทึกการฝึกอบรม
ในส่วนของสุขลักษณะส่วนบุคคล ยังคงใกล้เคียงเดิม ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
1. การรักษาสุขภาพ (อาการเจ็บป่วย บาดเจ็บ โรคติดต่อ พาหะสู่อาหาร)
2. การรักษาความสะอาดส่วนบุคคล ควรมีมาตรฐานป้องกันการปนเปื้อนข้ามจากพนักงาน เช่น มีที่คลุมผมและหนวด รองเท้าที่เหมาะสม หรืออุปกรณ์ช่วยในการกำจัดเส้นผมและล้างรองเท้า เน้นย้ำการล้างมือทุกครั้งก่อนเริ่มงาน กลับจากพัก ใช้ห้องน้ำ และจับของสกปรก
3. ปฏิบัติงาน ให้เหมาะสมตามข้อกำหนดงาน
ทางอิโตะ ประเทศไทยขอเป็นส่วนหนึ่งในการนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการรักษาความปลอดภัยอาหาร
#GHP #ความสะอาดในอาหาร #สุขลักษณะของอาหาร #สุขลักษณะส่วนบุคคล #บทบาทของผู้ประกอบการ #สารก่อภูมิแพ้ #การฝึกอบรม
Related Post
-
เกษตรกรรมในเมือง
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดความกังวลในหมู่เกษตรกร อุตสาหกรรม และทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึง carbon footprint จากการขนส่งกำลังทำลายสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงมีความตระหนักในการจัดหาอาหารท้องถิ่นเพื่อลดระยะทางในการขนส่งอาหารให้ใกล้กับเขตเมืองมากขึ้น วันนี้ เราจะมาพูดคุยเกี่ยวกับคำจำกัดความของเกษตรกรรมในเมือง โดยแนะนำเกษตรกรรมในเมืองสี่ประเภทหลัก ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน และกรณีศึกษาความสำเร็จในการนำเกษตรกรรมในเมืองมาใช้
-
ไมโครพลาสติกในห่วงโซ่อุปทานอาหาร
พลาสติกส่วนใหญ่ที่ผลิตทั่วโลกถูกใช้ในการบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม เมื่อเวลาผ่านไป พลาสติกจะเกิดการย่อยสลายและแตกออกเป็นอนุภาคขนาดเล็กที่เรียกว่าไมโครพลาสติก ในปี 2016 คาดว่า 60% ของพลาสติกทั้งหมด (322 ล้านตัน) เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียว เช่น ขวดน้ำแบบใช้ครั้งเดียว ภาชนะสำหรับนำกลับบ้าน กระป๋องอาหาร และแผ่นถนอมอาหาร ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการผลิตไมโครพลาสติก วันนี้เราจะมาพูดถึงคำจำกัดความของไมโครพลาสติก การปนเปื้อนในห่วงโซ่อุปทานอาหาร ผลกระทบที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และการป้องกันการปนเปื้อนในห่วงโซ่อุปทานอาหาร
-
Gastrophysics: ตอน ผลของสีต่อความรู้สึกของมนุษย์
วิทยาศาสตร์เพื่อความชอบทางประสาทสัมผัส หลักการทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถบอกคุณได้ ว่าอะไรทำให้อาหารมื้อนี้ของคุณน่าประทับใจขนาดนี้
-
วัฒนธรรมความปลอดภัยด้านอาหาร
วัฒนธรรมความปลอดภัยด้านอาหารมีบทบาทสำคัญในการปกป้องชื่อเสียงของบริษัท รับรองความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน และมอบประสบการณ์ที่ปลอดภัยให้กับลูกค้า
-
ประเด็นความปลอดภัยของอาหารแหล่งใหม่ๆ
อาหารแหล่งใหม่ที่เป็นเทรนด์มาแรง ทั้งโปรตีนจากพืช โปรตีนจากแมลง และแหล่งอื่น ๆ มีประเด็นความปลอดภัยอะไรที่ควรรู้บ้าง?
-
มาตรฐานสมาคมผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกแห่งสหราชอาณาจักร
ระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหารมีบทบาทสำคัญในการสร้างและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัยและมีคุณภาพสูงแก่ผู้บริโภค เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานอาหารทั่วโลกมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น ธุรกิจอาหารจึงต้องใช้ระบบที่มีประสิทธิภาพโดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัย คุณภาพ และการปฏิบัติตามมาตรฐานอุตสาหกรรม ระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหารประกอบด้วยชุดขั้นตอน กระบวนการ และการควบคุมที่ออกแบบมาเพื่อระบุ ป้องกัน และจัดการอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตและจัดหาอาหาร แนวทางเชิงรุกนี้ไม่เพียงแต่ปกป้องสุขภาพของผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังปกป้องชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของบริษัทอาหารในตลาดที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอีกด้วย